efinancethai

ประเด็นร้อน

IPO ปี 65 ซื้อเปิดวันแรก ผลตอบแทนติดลบเฉลี่ย 27%

IPO ปี 65 ซื้อเปิดวันแรก ผลตอบแทนติดลบเฉลี่ย 27%

12 หุ้น IPO ปีนี้ยังไม่ปัง สถิติเผยเก็บหุ้นในกระดาน ผลตอบแทนติดลบเฉลี่ย 27% โดยมีถึง 11 บจ. ราคาล่าสุด ต่ำกว่าราคาเปิด พบ PTC ผลตอบแทนติดลบสูงสุด 54% ตะลึงอีก 8 บจ. ผลตอบแทนติดลบมากกว่า 20% กูรูชี้ IPO ปีนี้ อยู่ในกลุ่มที่นักลงทุนไม่สนใจ แถมตลาดขาลง ฉุดผลตอบแทนน่าผิดหวัง
 

*** ปีนี้เก็บหุ้น IPO ในกระดาน ผลตอบแทนติดลบ 27%
 

กระแสหุ้น IPO กลับมาอยู่ในความสนใจของนักลงทุนอีกครั้ง หลังบมจ.ไทยประกันชีวิต (TLI) เตรียมเข้าซื้อ - ขาย ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ครั้งแรก วันที่ 25 ก.ค.นี้

"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" จึงสำรวจผลตอบแทนหุ้น IPO ปี 65 นับเฉพาะกรณีที่นักลงทุนไม่ได้จองซื้อหุ้น IPO แต่มารอเก็บหุ้นในกระดาน (ราคาเปิดวันแรก เทียบราคาปิด 18 ก.ค.65) พบว่าให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบถึง 27% ดังนี้
 

IPO ปี 65 เก็บหุ้นในกระดาน ผลตอบแทนติดลบเฉลี่ย 27%

ชื่อย่อหุ้น

ราคา IPO (บ.)

ราคาเปิดวันแรก (บ.) **

ราคาปิดวันแรก (บ.)***

ราคาล่าสุด (บ.)****

PTC*

3.5

6.75
(+93%)

4.42
(-35%)

3.08
(-54%)

FTI*

2.5

4
(+60%)

3.84
(-4%)

2.24
(-44%)

TEKA*

4.6

6.6
 (+43%)

4.94
(-25%)

4.36
(-34%)

CIVIL*

4.6

5.25
(+14%)

5.5
(+5%)

3.48
(-34%)

STP*

18

20
(+11%)

18.8
(-6%)

13.4
(-33%)

CEYE

3.86

6.5
 (+68%)

5.35
(-18%)

4.44
(-32%)

PLUS

4.5

8
(+78%)

5.5
(-31%)

5.9
(-26%)

BBGI*

10.5

10.1
(-4%)

10.5
(+4%)

7.5  
(-26%)

BLESS*

1.4

1.56
 (+11%)

1.4
(-10%)

1.18
(-24%)

TKC

18

27
(+50%)

27.25
(+1%)

23.1
(-14%)

JDF

2.6

3.2
(+23%)

5.5
(+72%)

3.02
(-6%)

KCC

3.7

6.2
 (+68%)

9.2
(+48%)

6.25
(+1%)

* ราคาปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาจอง IPO

** %ราคาเปลี่ยนแปลงของราคาเปิดวันแรกเทียบราคา IPO

***%ราคาเปลี่ยนแปลงของราคาปิดวันแรกเทียบราคาเปิดวันแรก

**** %ราคาเปลี่ยนแปลงของราคาล่าสุดเทียบราคาเปิดวันแรก

โดย 12 หุ้น IPO ปี 65 ให้ผลตอบแทนในกระดานติดลบถึง 11 บริษัท และมีถึง 7 บริษัท ที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ปรับตัวลงไปอยู่ในระดับต่ำกว่าราคาเสนอขาย IPO  


*** PTC ผลตอบแทนติดลบสูงสุดถึง 54%
 

บมจ.พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น (PTC) เป็นหุ้น IPO ที่ให้ผลตอบแทนติดลบมากสุดถึง 54% โดย PTC เสนอขาย IPO ที่ราคา 3.5 บาท/หุ้น หลังจากนั้นเข้าซื้อ - ขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีราคาเปิดอยู่ที่ 6.75 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 93% จากราคา IPO ก่อนที่จะปิดซื้อขายวันแรกที่ราคา 4.42 บาท/หุ้น ลดลง 35% จากราคาเปิดวันแรก ขณะที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 3.08 บาท/หุ้น ลดลง 54% จากราคาเปิดวันแรก 

รองลงมา คือ บมจ.ฟังก์ชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล (FTI) ที่ให้ผลตอบแทนติดลบ 44% โดย FTI เสนอขาย IPO ที่ราคา 2.5 บาท/หุ้น หลังจากนั้นเข้าซื้อ - ขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีราคาเปิดอยู่ที่ 4 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 60% จากราคา IPO ก่อนที่จะปิดซื้อขายวันแรกที่ราคา 3.84 บาท/หุ้น ลดลง 4% จากราคาเปิดวันแรก ขณะที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 2.24 บาท/หุ้น ลดลง 44% จากราคาเปิดวันแรก 


*** มีอีก 7 บจ. ผลตอบแทนติดลบมากกว่า 20%
 

นอกจากนี้ ยังมีอีก 7 บริษัท ที่ผลตอบแทนในกระดานติดลบมากกว่า 20% ประกอบด้วย บมจ.ฑีฆาก่อสร้าง (TEKA) ให้ผลตอบแทนติดลบ 34% โดย TEKA เสนอขาย IPO ที่ราคา 4.6 บาท/หุ้น หลังจากนั้นเข้าซื้อ - ขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีราคาเปิดอยู่ที่ 6.6 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 43% จากราคา IPO ก่อนที่จะปิดซื้อขายวันแรกที่ราคา 4.94 บาท/หุ้น ลดลง 25% จากราคาเปิดวันแรก ขณะที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 4.36 บาท/หุ้น ลดลง 34% จากราคาเปิดวันแรก 

ขณะที่ บมจ.ซีวิลเอนจีเนียริง (CIVIL) ให้ผลตอบแทนติดลบ 34% โดย CIVIL เสนอขาย IPO ที่ราคา 4.6 บาท/หุ้น หลังจากนั้นเข้าซื้อ - ขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีราคาเปิดอยู่ที่ 5.25 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 14% จากราคา IPO ก่อนที่จะปิดซื้อขายวันแรกที่ราคา 5.5 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 5% จากราคาเปิดวันแรก ขณะที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 3.48 บาท/หุ้น ลดลง 34% จากราคาเปิดวันแรก 

ด้าน บมจ.สหไทยการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ (STP) ให้ผลตอบแทนติดลบ 33% โดย STP เสนอขาย IPO ที่ราคา 18 บาท/หุ้น หลังจากนั้นเข้าซื้อ - ขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีราคาเปิดอยู่ที่ 20 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 11% จากราคา IPO ก่อนที่จะปิดซื้อขายวันแรกที่ราคา 18.8 บาท/หุ้น ลดลง 6% จากราคาเปิดวันแรก ขณะที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 13.4 บาท/หุ้น ลดลง 33% จากราคาเปิดวันแรก 

ฟาก บมจ.ตาชำนิ (CEYE) ให้ผลตอบแทนติดลบ 32% โดย CEYE เสนอขาย IPO ที่ราคา 3.86 บาท/หุ้น หลังจากนั้นเข้าซื้อ - ขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีราคาเปิดอยู่ที่ 6.5 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 68% จากราคา IPO ก่อนที่จะปิดซื้อขายวันแรกที่ราคา 5.35 บาท/หุ้น ลดลง 18% จากราคาเปิดวันแรก ขณะที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 4.44 บาท/หุ้น ลดลง 32% จากราคาเปิดวันแรก

ขณะที่ บมจ.โรแยล พลัส (PLUS) ให้ผลตอบแทนติดลบ 26% โดย PLUS เสนอขาย IPO ที่ราคา 4.5 บาท/หุ้น หลังจากนั้นเข้าซื้อ - ขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีราคาเปิดอยู่ที่ 8 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 78% จากราคา IPO ก่อนที่จะปิดซื้อขายวันแรกที่ราคา 5.5 บาท/หุ้น ลดลง 31% จากราคาเปิดวันแรก ขณะที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 5.9 บาท/หุ้น ลดลง 26% จากราคาเปิดวันแรก

ด้าน บมจ.บีบีจีไอ (BBGI) ให้ผลตอบแทนติดลบ 26% โดย BBGI เสนอขาย IPO ที่ราคา 10.5 บาท/หุ้น หลังจากนั้นเข้าซื้อ - ขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีราคาเปิดอยู่ที่ 10.1 บาท/หุ้น ลดลง 4% จากราคา IPO ก่อนที่จะปิดซื้อขายวันแรกที่ราคา 10.5 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 4% จากราคาเปิดวันแรก ขณะที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 7.5 บาท/หุ้น ลดลง 26% จากราคาเปิดวันแรก

ส่วน บมจ.เบล็ส แอสเสท กรุ๊ป (BLESS) ให้ผลตอบแทนติดลบ 24% โดย BLESS เสนอขาย IPO ที่ราคา 1.4 บาท/หุ้น หลังจากนั้นเข้าซื้อ - ขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีราคาเปิดอยู่ที่ 1.56 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 11% จากราคา IPO ก่อนที่จะปิดซื้อขายวันแรกที่ราคา 1.4 บาท/หุ้น ลดลง 11% จากราคาเปิดวันแรก ขณะที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 1.18 บาท/หุ้น ลดลง 24% จากราคาเปิดวันแรก
 

*** มีถึง 7 บจ. ราคาหุ้นปัจจุบันต่ำกว่า IPO
 

ขณะเดียวกัน มีถึง 7 บริษัท ที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาเสนอขาย IPO ประกอบด้วย บมจ.บีบีจีไอ (BBGI) ที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ต่ำกว่าราคา IPO ถึง 29%, บมจ.สหไทยการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ (STP) ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาเสนอขาย IPO ราว 26%

ด้าน บมจ.ซีวิลเอนจีเนียริง (CIVIL) ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาเสนอขาย IPO ราว 24%, บมจ.เบล็ส แอสเสท กรุ๊ป (BLESS) ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาเสนอขาย IPO ราว 16%, บมจ.พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น (PTC) ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาเสนอขาย IPO ราว 12%

ปิดท้ายด้วย บมจ.ฟังก์ชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล (FTI) ที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาเสนอขาย IPO ราว 10% และ บมจ.ฑีฆาก่อสร้าง (TEKA) ที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาเสนอขาย IPO ราว 5%


*** กูรูชี้กลุ่มหุ้นยังไม่เด่น ฉุดราคาน่าผิดหวัง 
 

"มงคล พ่วงเภตรา" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบีเอสที ระบุว่า สาเหตุที่ทำให้ผลตอบแทนหุ้น IPO ในกระดานปีนี้ส่วนใหญ่ติดลบ มีเหตุผลเบื้องต้นจากภาวะตลาดหุ้นไทยที่อยู่ในช่วงขาลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาหุ้นได้เช่นกัน

อีกทั้ง หุ้น IPO ปีนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจ สะท้อนจากผลตอบแทนหุ้น IPO ปี 64 ที่ค่อนข้างดี เนื่องจากหุ้นส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ซึ่งตรงกับกระแสความสนใจขณะนั้น จึงทำให้นักลงทุนให้ความสนใจจำนวนมาก หนุนราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรง แต่ปีนี้หุ้น IPO ที่เข้ามาส่วนใหญ่ ยังไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว 

ขณะที่ "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บล. เอเซียพลัส เสริมว่า สาเหตุที่ทำให้ผลตอบแทนหุ้น IPO ปีนี้น่าปิดหวัง มีปัจจัยหลักจาก Sentiment ของตลาดที่อยู่ในช่วงขาลง สะท้อนจากผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี ติดลบกว่า 7% อีกทั้ง การตั้งราคาขายหุ้น IPO ในปีนี้ เมื่อเทียบในแง่ระดับ P/E ของหุ้นในกลุ้มอุตสาหกรรมเดียวกัน ยังสูงกว่าอีกด้วย
 

*** แนะลงทุนต้องดูพื้นฐาน - มูลค่า สมเหตุสมผล
 

"มงคล พ่วงเภตรา" กลับมากล่าวต่อว่า กลยุทธ์ลงทุนหุ้น IPO ในกระดาน ยังแนะนำนักลงทุน พิจารณาปัจจัยพื้นฐานของบริษัทเป็นอันดับแรก หลังจากนั้น ต้องลองวิเคราะห์ดูว่า หุ้นดังกล่าวอยู่ในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจแค่ไหน และมีศักยภาพเติบโตต่อในระยะยาวได้หรือไม่ อีกทั้งยังต้องพิจารณาจุดเข้าซื้ออย่างรอบคอบ หลีกเลี่ยงการเข้าลงทุน หากราคาหุ้นปรับตัวสูงเกินมูลค่าพื้นฐานไปแล้ว

เช่นเดียวกับ "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ที่ทิ้งท้ายว่า การลงทุนในหุ้น IPO หลังเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ นักลงทุนควรพิจารณามูลค่าพื้นฐานเป็นหลัก ว่าปรับตัวขึ้นไปจากการเก็งกำไรมากแล้วหรือยัง ซึ่งหากหุ้นบริษัทใดที่ปรับตัวขึ้น จนมีอัตราส่วน P/E ที่อยู่ในระดับสูงมาก ก็ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในช่วงดังกล่าวออกไปก่อน    

แบบสอบถามความพึงพอใจ






ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh




LATEST NEWS

ข่าวหุ้นล่าสุด

Refresh

ดูข่าวทั้งหมด