efinancethai

FinTech

ถอดบทเรียนวิกฤต FTX จากการใช้โทเคนไปค้ำเพื่อกู้เงิน

ถอดบทเรียนวิกฤต FTX จากการใช้โทเคนไปค้ำเพื่อกู้เงิน

ถอดบทเรียนวิกฤต FTX จากการใช้โทเคนไปค้ำเพื่อกู้เงิน 

 

     เรื่องที่ฮอตฮิตที่สุดในวงการคงหนีไม่พ้นเรื่องที่ Changpeng Zhao หรือที่รู้จักกันในชื่อ CZ แห่ง Binance ประกาศขายโทเคน FTT ซึ่งเป็นเหรียญจาก exchange ชื่อดังอย่าง FTX ที่ Sam Bankman-Fried หรือรู้จักกันชื่อ SBF เป็นเจ้าของทิ้งทั้งหมด อันส่งผลกระทบต่อตลาดด้วยราคาที่ร่วงดิ่งเหวอย่างรุนแรง ตามมาด้วยความวิตกกังวลมากมาย และที่สำคัญกว่านั้น คือ ปัญหาภายในของ FTX จากที่ CZ ให้เหตุผลการขายครั้งนี้ว่ามาจากข้อมูลที่ไม่ทราบมาก่อน ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัว Binance เองก็เป็นได้

 

     โดยข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะที่หลายคนน่าจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า SBF ก็เป็นเจ้าของธุรกิจอีกส่วน คือ บริษัทวิเคราะห์และวิจัยด้านคริปโทอย่าง Alameda Research ด้วย ซึ่งบริษัทนี้มีทรัพย์สิน $14.6 พันล้านเลยทีเดียว เมื่อแจกแจงแล้วพบว่าเป็นส่วนของ $FTT มากที่สุดถึง $5.8 พันล้าน, เป็นเหรียญ $SOL อีก $1.2 พันล้าน, เป็นเหรียญอื่นๆ อีก $3.37 พันล้าน ส่วนสุดท้ายประมาณ $2 พันล้าน อยู่ในหุ้นและทรัพย์สินอื่นๆ 

 

     ซึ่งตัวของ Alameda เองก็มีหนี้อยู่ $8 พันล้าน โดยประมาณ $2.2 พันล้าน เป็นเงินกู้ที่ได้มาผ่านการใช้โทเคน FTT เป็นหลักประกัน พูดอีกนัยหนึ่งก็ คือ Alameda สามารถได้รับเหรียญ FTT ที่อาจจะถูกสร้างจากอากาศที่ไม่มีมูลค่าใดใด แต่สามารถเอาไปค้ำเพื่อเบิกเป็นเงินจริงมาได้ตลอด ไม่จำกัด แถมมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะไม่ต้องใช้คืนด้วย เพราะเป็นบริษัทภายใต้เจ้าของเดียวกัน 

 

ปัญหาที่เกิดขึ้น

     จะเห็นว่า Alameda Research ที่เป็นอีกหนึ่งธุรกิจแยกของ SBF และได้รับอานิสงส์ต่างๆ มากมายจาก FTX มีส่วนของเจ้าของเหลืออยู่ประมาณ $6.6 พันล้าน ซึ่งในจำนวนนี้อยู่ในรูป FTT ถึง 88% และทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นโทเคนที่อาจจะไม่ได้มีสภาพคล่องสูงด้วย ซึ่งในขนาดสินทรัพย์ที่ Alameda ถือเป็นไปได้ยากที่จะขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินออกมาในท่าปกติ เพราะส่งผลกระทบต่อตลาดสูง ก็เลยกลายเป็นท่าที่เอาโทเคน FTT ไปค้ำเพื่อกู้เงินแทน แต่ถ้าความเชื่อมั่นของ FTT หายไปก็จะทำให้ยากที่จะได้เงินกู้เช่นกัน

 

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า FTT ลงอย่างหนัก?

     แน่นอนว่าทรัพย์สินสุทธิ ที่เป็นโทเคน FTT 88% จะลดลงอย่างมาก มากกว่านั้น Alameda ยังมีเงินกู้ $2.2 พันล้าน ที่ถูกค้ำประกันไว้ด้วย FTT ซึ่งถ้า FTT ราคาลงอย่างหนัก Alameda จะต้องหาทรัพย์สินอย่างอื่นมาค้ำเพิ่ม หรืออาจจะถูกบังคับขาย FTT ลงในตลาด ซึ่งอย่างหลังเป็นไปได้ยากมาก เมื่อพิจารณาจากสภาพคล่องของ FTT ปัจจุบันที่ไม่สามารถรองรับการขายขนาดนี้ได้อย่างแน่นอน อีกทั้งจะทำให้ผู้ปล่อยกู้ที่น่าจะมีผู้เล่นรายใหญ่เงินหนารวมอยู่ ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องไปโดยปริยาย

 

     หากพิจารณาดูจากแค่ตัวเลขทางการเงินของ Alameda ก็จะเห็นถึงปัญหาการขาดสภาพคล่องได้ ถ้า FTT ราคาลดลง แต่นี่ก็เป็นเพียงการคาดเดาไปถึงกรณีเลวร้าย ในความเป็นจริง Alameda ยังมีท่าอีกมากในการจัดการกับปัญหา เพราะเจ้าหนี้ก็ไม่อยากได้หนี้เสีย เราเองในฐานะคนทั่วไปก็คงจะต้องคิดถึงความเสี่ยง โดยเฉพาะผู้ที่ถือเหรียญ FTT และ SOL เพราะทั้งสองมีอยู่ในมือของ Alameda Research จำนวนไม่น้อยเลย 

 

     “ซึ่งอีกหนึ่งวิธีการที่เราสามารถทำ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากจากการ Panic Sell ครั้งนี้ คือ ทำการ “Short against portfolio” เพื่อลดความเสี่ยงถ้าเกิดอะไรที่ไม่คาดคิดขึ้น จนอาจจะเกิด Black Swan อย่างที่เกิดกับ LUNA” 

 

     ถึงแม้ว่า SBF ได้มีการขอความช่วยเหลือจาก CZ เพื่อเข้าซื้อกิจการไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าดีลนี้จะเกิดขึ้นโดยง่าย หรือจะเกิดการซื้อแน่นอน เพราะทุกการซื้อขายกิจการจะต้องผ่านการพิจารณาหลายขั้นตอน และอาจจะเกิดการล้มดีลได้ตลอดเวลาด้วย (อ้างอิงจากที่ CZ ทวีตบน Twitter) ซึ่งล่าสุด Binance ก็ออกมาประกาศชัดเจนว่าจะไม่มีการซื้อกิจการเกิดขึ้น 

 

     ทั้งนี้ นี่ไม่ใช่การแนะนำการลงทุน เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูล และเครื่องมือในตลาดเบื้องต้นที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยง และผลกระทบเชิงลบกับพอร์ตการลงทุนของเรา ซึ่งหวังว่าข้อมูลจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดอยู่ตลอดเวลา

 

บทความโดย ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ รักวงษ์วาน (เอ็ม) PhD in Financial Mathematics

ผู้ร่วมก่อตั้ง และ ที่ปรึกษา ของ Forward - Decentralized Derivatives Platform และ Forward Labs - Blockchain technology labs และ อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 


Facebook แฟนเพจ ติดเล่า เรื่องลงทุน

แบบสอบถามความพึงพอใจ






บทความอื่นๆที่น่าสนใจ



RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh